We will be updating new events soon.

Key to Happiness – Phakchok Rinpoche message in November 2011 สารจากท่าน พักชก ริมโปเช ในเดือน พฤศจิกายน 2554

ภาษาไทย ดูได้ที่นี่

Key to Happiness

 

Dear Friends Near and Far,Greetings to you all on this Guru Rinpoche Day. I hope you’ve all be healthy and happy.We all want to be happy. This is our fundamental aim in life, right? But often we find it difficult to achieve. When we don’t know how to deal with our own emotions and our mind then sometimes life can become very tiring and depressing. On top of that, most of us are so busy these days, which makes us even more stressed and uptight. So here I would like to share with you three simple ways that helps me deal with my emotions and thus gives me comfort.1. Creating Space 
These days we have so many things to think about: our health, our family, our work, and if you’re a dharma practitioner, then on top of all that you have meditation and dharma practice to worry about. When we don’t know how to deal with them, these worries can make our minds start to slowly shrink, becoming more and more narrow, and as a consequence more and more negative. Sometimes things start to overwhelm us and we feel trapped physically. Our chest feels tight and then we let out a big sigh in an attempt to relieve ourselves of these feelings. That happens sometimes. A small problem can come to seem so big that we can’t deal with it at all.

A really good way to deal with this is to create space mentally. It helps relieve the tension and uptightness in your mind and in your body as well. Creating space is a very simple method. It’s not a Buddhist teaching or anything like that. It’s simply a technique we can apply to give ourselves space and freedom and relief from all our worrisome thoughts.

How to create space? When you have a few minutes, look ahead of you and simply imagine that you’re surrounded by empty space in all directions. Sometimes it is useful to look at the empty sky. Just imagine space everywhere: no walls, no boundaries, no buildings, nothing. And don’t start thinking about work, family, things you need to do. Simply imagine that everything is just like the vast, open sky, like empty space, and let your mind blend into the space so that it becomes just as vast and open. You can close your eyes if that helps. Imagine this spaciousness for a short while. After a minute or two you’ll start to really feel spacious mentally. Your chest will open up and you’ll feel relieved of all those tensions and thoughts that were crowding in on you just a few minutes ago. Your mind opens up and then your way of thinking changes, just like that. It takes just five or ten minutes and is so easy—that is the magic of creating space. You don’t have to believe me. Try it for yourself and you’ll see.

 

2. Knowing your own faults and Reducing Judgment

 
We all want to be happy, right?  Yes or no? But what is our mind occupied with most of the time?  Negative emotions, negative judgments, and negative thoughts. Look at your own mind and see the pattern of emotions. How many of them are negative? Have you ever before given this a moment’s thought?
So what you need to do first is to recognize your thought-patterns, your negative emotions and the way they arise, the way different feelings arise. Recognize, notice, but Don’t Judge. There’s a big difference between noticing and judgment. Noticing is simply recognizing and becoming aware of something: “Oh, yes, I have a problem with jealousy.” But judgment goes one step further—a step too far—and starts criticizing: “Oh, yes, I have a problem with jealousy. Oh my God, I’m such a bad person. I can’t believe I made that mistake! Oh, I feel so awful. I can’t bear it!….” Do you see the difference? Judgment has these emotional ties whereas noticing does not. So try to simply notice your faults and not judge.

 

The problem nowadays is not that people are not doing dharma or other spiritual practice and trying to improve.  The problem nowadays is that we don’t notice and accept our own faults; so then of course we don’t improve, no matter how we might try. It’s a bit like taking medicine for an illness when you don’t even know what illness you have. So please give this a moment’s thought. Look honestly at yourself and acknowledge your own faults and mistakes.

 

3. Compassion and Loving Kindness

 
The third key I’d like to mention here is having compassion and loving-kindness. Traditionally speaking, in the Buddha’s teaching, compassion is defined as the wish for beings to be free from suffering and the cause of suffering and loving kindness is the wish for beings to have happiness and the cause of happiness. Here though, I’d like to explain compassion as meaning a basic understanding or empathy for others and loving kindness as meaning a good, kind heart.

Understanding is so important.  For example, in order for a family to be happy and harmonious the parents need to understand their children, be able to see things from their point of view, and the children also need to understand their parents. It’s the same in all situations, in the office, other relationships and so on. We need to share with each other, get to know each other well, and learn to look at things from others’ perspectives; we need to put ourselves in their shoes. If somebody is shouting at you, do you think he’s happy? Do you think he’s enjoying that? No, he’s upset, stressed, and angry, and later on he might well feel a lot of regret for what he’s doing right now. Yes, many people make mistakes, but do you think they do so intentionally? Do you think they do so because they’re happy? No. So try to understand that instead of just reacting with more anger and judgment from your side. If you can do that, you’ll feel compassion.
Another aspect of compassion is that if you come to understand your own problems and gain some freedom from them, naturally compassion towards others will arise. On the other hand, when you don’t clearly notice your own problems in the first place and know what suffering you have then how can you have compassion for others? How can you wish others to be free from that suffering, suffering that you don’t even recognize clearly yourself? So first you need to see your own problem. How? When you create space, the first key, and gain some freedom from your stress and the onslaught of thoughts, you see what you’re getting out from, you see the benefits of how you become happier. From just the first point, creating space, you think, “Oh, my boss, poor guy. If he knew this method he would be in a much better place than he is now. The poor guy.”

When you have this kind of compassion, your mind becomes more and more loose. When you focus more on others, indirectly you’re reducing your focus to your ego and as a result your mind then becomes more and more relaxed, more expansive and then more intelligent. You can share these three points with anyone. It’s going to benefit them, not harm them. So these are the three keys to be happy.

 

Sending you all much love and affection.

Sarva Mangalam,

Phakchok Rinpoche


 

กุญแจสู่ความสุข

แด่สหายทั้งหลายที่อยู่ใกล้และอยู่ไกล  สวัสดีทุกท่านเนื่องในวันคุรุรินโปเช  หวังว่าทุกท่านคงมีสุขภาพที่ดีและมีความสุข เราทุกคนล้วนต้องการจะมีความสุข  สิ่งนี้คือเป้าหมายพื้นฐานในชีวิตเราจริงหรือไม่?  แต่บ่อยครั้งที่เรารู้สึกว่าเป็นการยากลำบากเหลือเกินที่จะเข้าถึงความสุข  เมื่อใดก็ตามที่เราไม่รู้ว่าจะรับมือกับอารมณ์และจิตใจของเราอย่างไร  เมื่อนั้นเราจะรู้สึกว่าชีวิตช่างน่าเหนื่อยหน่ายและตึงเครียด  ด้วยเหตุนั้นในที่นี้ข้าพเจ้าจึงอยากมีส่วนร่วมกับท่านทั้งหลายในวิถีทางสามเรื่องง่ายๆ ที่ช่วยให้ข้าพเจ้าสามารถจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกของข้าพเจ้า ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าสุขสบายอยู่เสมอ

  • 1) สร้างพื้นที่ว่าง

ทุกวันนี้เรามีสิ่งที่ต้องคิดคำนึงถึงมากมายเหลือเกิน  ทั้งเรื่องสุขภาพ  ครอบครัว  หน้าที่การงาน  และถ้าท่านเป็นผู้ฝึกปฏิบัติธรรมด้วยแล้วท่านยังมีภาระในการทำสมาธิและฝึกปฏิบัติธรรมที่ต้องเป็นห่วงอีก  เมื่อใดก็ตามที่เราไม่รู้ว่าจะจัดการกับมันอย่างไรความกังวลนี้จะทำให้จิตใจของเราหดตัวลงที่ละน้อยๆ และมีขนาดแคบลงๆ  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในทางเลวร้ายยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งดูเหมือนว่าสิ่งต่างๆ เริ่มท่วมท้นหนักหน่วงจนรู้สึกเหมือนกำลังติดกับดักและยังรู้สึกแน่นหน้าอก  เราจะแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความพยายามที่จะผ่อนคลายตัวเองจากความรู้สึกเหล่านั้น  สิ่งนี้คงเกิดขึ้นกับเราบ้างในบางครั้งไม่มากก็น้อย  แต่เรื่องเล็กๆ เหล่านี้ก็อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เราไม่สามารถจัดการกับมันได้

วิธีการที่ยอดเยี่ยมประการหนึ่งในการจัดการกับสิ่งเหล่านี้คือการสร้างพื้นที่ว่างทางจิตใจขึ้น  วิธีนี้จะช่วยปลดปล่อยอกุศลเจตนาและความตึงเครียดทั้งในจิตใจเช่นเดียวกับในร่างกายของท่าน  การสร้างพื้นที่ว่างมีวิธีการที่ง่ายมาก  มันไม่ใช่การสอนคำสอนทางพุทธศาสนาหรืออะไรทำนองนั้น  หากเป็นเทคนิคง่ายๆ ที่เราสามารถประยุกต์ใช้กับพื้นที่ว่างและอิสรภาพของเรา  และปลดปล่อยเราจากความกังวลทั้งมวล

แล้วเราจะสร้างที่ว่างได้อย่างไร?  หากท่านมีเวลาสักเล็กน้อยลองมองตรงไปข้างหน้าและจินตนาการว่าท่านกำลังถูกล้อมรอบด้วยที่ว่างทุกทิศทุกทาง  หากจำเป็นบางครั้งก็อาจใช้วิธีมองขึ้นไปบนท้องฟ้าที่ว่างเปล่า  เพียงแค่จินตนาการว่าทุกหนทุกแห่งล้วนเป็นที่ว่าง  ไม่มีกำแพง  ไมมีขอบเขต  ไม่มีตึกรามบ้านช่อง  ไม่มีอะไรเลย  และอย่าเริ่มต้นคิดถึงการงาน  ครอบครัว  คิดถึงเฉพาะสิ่งที่ท่านต้องการจะทำ  จินตนาการง่ายๆ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นพื้นที่ว่างกว้างใหญ่  ฟ้าโปร่งเหมือนที่ว่าง  และปล่อยให้จิตใจของท่านผสมกลมกลืนไปกับพื้นที่ว่างดังกล่าวจนกลายเป็นพื้นที่ว่างและเปิดโล่งสุดลูกหูลูกตา  ท่านอาจจะหลับตาลงหากสิ่งนี้ช่วยท่านได้  จินตนาการถึงความว่างเปล่านี้สักอึดใจหนึ่ง หลังจากเวลาผ่านไปสักนาทีหรือสองนาทีท่านจะเริ่มรู้สึกถึงความว่างในจิตใจอย่างแท้จริง  หน้าอกของท่านจะโล่งและท่านจะรู้สึกถึงความผ่อนคลายจากความตึงเครียดในหัวท่านก่อนหน้านี้  จิตใจของท่านจะเปิดออกเช่นเดียวกับวิธีคิดของท่านที่จะเปลี่ยนไปเช่นกัน  ขั้นตอนเหล่านี้ใช้เวลาไม่มากเลยเพียงห้าหรือสิบนาทีและยังง่ายมากด้วย  นั่นแหละคือความวิเศษของการสร้างที่ว่าง  ท่านไม่จำเป็นต้องเชื่อฉันแต่ลองดูด้วยตนเองแล้วท่านจะรู้สึกได้ด้วยตนเอง

 

  • 2) เรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนเองและลดการตัดสิน

เราทุกคนล้วนต้องการจะมีแต่ความสุขจริงหรือไม่  แต่อะไรคือสิ่งที่จิตใจของเรายึดติดอยู่ตลอดเวลา?  นั่นคือความรู้สึกในด้านลบ  การตัดสินในเด้านลบ  และความคิดในด้านลบ  ลองย้อนมองเข้าไปในจิตของท่านและศึกษาถึงรูปแบบของอารมณ์ดังกล่าวว่ามีมากน้อยเพียงใดที่อยู่ในด้านลบ  ท่านเคยคำนึงถึงเรื่องนี้สักเล็กน้อยบ้างไหม?

ดังนั้นสิ่งที่ท่านต้องทำประการแรกคือตระหนักและยอมรับในรูปแบบหรือกระบวนการความคิดของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกในด้านลบของท่านและกระบวนการที่ก่อให้เกิดความรู้สึกดังกล่าว หรือกระบวนการที่ความรู้สึกต่างๆ บังเกิดขึ้น  การยอมรับในที่นี้คือการสังเกตเห็นโดยไม่ต้องตัดสินอะไรใดๆ ทั้งสิ้น  เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบถึงความแตกต่างระหว่างการสังเกตเห็นกับการตัดสิน  การสังเกตเห็นคือการตระหนักถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเรียบง่าย  เช่นคำกล่าวว่า  “โอ้ ใช่เลย ฉันมีปัญหากับความเป็นคนขี้อิจฉาของฉัน”  ส่วนการตัดสินมักจะก้าวเลยไปก้าวหนึ่งเสมอซึ่งส่งผลไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ชี้ถูกชี้ผิด  ดังประโยคที่กล่าวว่า  “โอ้  ใช่เลย  ฉันมีปัญหากับความขี้อิจฉาของฉัน  ฉันมันเลวสิ้นดี  ไม่น่าเชื่อว่าฉันจะทำผิดพลาดได้เช่นนั้น  โอ้ ฉันช่างงี่เง่าจริงๆ  ทนไม่ไหวแล้ว…”  ท่านเห็นความแตกต่างดังกล่าวบ้างไหม  การตัดสินนั้นเกี่ยวข้องกับอารมณ์ขณะที่การสังเกตเห็นนั้นไม่  ดังนั้นให้ท่านหัดสังเกตง่ายๆ ถึงความผิดพลาดของท่านโดยไม่จำเป็นต้องตัดสิน  ปัญหาทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องที่เราหันหลังให้กับการปฏิบัติธรรมหรือการฝึกฝนทางจิตต่างๆ หรือมีปัญหาที่ต้องพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น  ไม่ว่าเราจะพยายามอย่างหนักมาแล้วเพียงไรก็ตาม  เพราะนั่นเปรียบเสมือนการกินยารักษาโรคโดยที่ยังไม่รู้ว่าตนป่วยด้วยสาเหตุใด  ดังนั้นโปรดหยุดคิดสักนิดหนึ่งโดยการหันเข้าไปมองตนเองด้วยความสัตย์จริงว่าเรามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง

  • 3. ความกรุณาและเมตตา

กุญแจสำคัญดอกที่ 3 ที่ฉันอย่ากจะกล่าวถึงในที่นี้คือความกรุณาและเมตตา  ถ้าถือตามหลักเกณฑ์คำสั่งสอนในพุทธศาสนา  กรุณาหมายถึงความปรารถนาที่จะให้สรรพสัตว์เป็นอิสระจากความทุกข์และเหตุแห่งความทุกข์ และเมตตาก็คือความปรารถนาที่จะให้สรรพสัตว์มีความสุขและเหตุของความสุข  ในที่นี้ฉันจึงอยากจะอธิบายว่ากรุณาหมายถึงความเข้าใจพื้นฐานหรือการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ขณะที่เมตตาหมายถึงการมีจิตใจดี

ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  ตัวอย่างเช่นในครอบครัวที่มีความสุขและปรองดองกัน บิดามารดาก็จำเป็นต้องเข้าใจบุตรหลานของตน  ต้องมองสิ่งต่างจากมุมมองของพวกเขา  และบุตรหลานก็จำเป็นต้องเข้าใจผู้ปกครองของตนในทำนองเดียวกัน   ความสัมพันธ์เช่นนี้สามารถสร้างขึ้นได้ในทุกสถานที่และทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นในที่ทำงานหรือเป็นความสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ ก็ตาม  เราจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน  พยายามทำความรู้จักซึ่งกันและกัน  และหัดมองสิ่งต่างๆ จากมุมมองของผู้อื่น  พูดอย่างติดตลกได้ว่าเราต้องหัดใส่รองเท้าของคนอื่นบ้าง  หากมีใครมาตะโกนด่าว่าคุณคุณจะคิดว่าเขากำลังมีความสุขอยู่หรือ?  คุณคิดว่าเขาสนุกกับการกระทำเช่นนั้นหรือ?  เปล่าเลย   เขากำลังกลัดกลุ้ม  เครียด  และโกรธ  แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาจะรู้สึกเสียใจไม่น้อยกับการกระทำของตัวเอง  ใช่แล้วหลายคนทำผิดพลาด  แต่ท่านคิดว่าเขาใช้อารมณ์มากเกินไปหรือเปล่า?  ท่านคิดว่าเขาทำลงไปเพราะเขามีความสุขหรือ?  ไม่เลย  ดังนั้นท่านควรพยายามใช้ความเข้าใจแทนที่จะมีอารมณ์โกรธตอบและด่วนตัดสินจากมุมมองของท่าน  ถ้าท่านปฏิบัติได้ดังนี้ก็ถือได้ว่าท่านมีความกรุณาแล้ว

ในอีกมุมหนึ่งของความกรุณาก็คือหากท่านสามารถเข้าใจถึงปัญหาทั้งหลายของตัวเองและสามารถปลดปล่อยตนเองจากสิ่งเหล่านั้นได้  ความกรุณาต่อผู้อื่นก็จะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยเป็นธรรมชาติ  ในทางตรงกันข้ามหากท่านไม่สามารถจัดการกับข้อสังเกตในปัญหาของท่านเอง ณ ที่ที่มันก่อตัวขึ้น และรู้ว่าท่านต้องทุกข์ทนอย่างไร  แล้วท่านจะมีความกรุณาต่อผู้อื่นได้อย่างไร  ท่านจะหวังให้ผู้อื่นเป็นอิสระจากความทุกข์ได้อย่างไร  ความทุกข์ซึ่งท่านเองยังไม่แม้แต่จะตระหนักรู้โดยชัดเจนได้  ดังนั้นสิ่งแรกสุดคือการมองเห็นปัญหาของตนเอง  คำถามต่อมาคือแล้วอย่างไร?  เมื่อท่านสร้างพื้นที่ว่างซึ่งเป็นกุญแจประการแรกสำเร็จ  และค้นพบอิสระจากความเครียดและการจู่โจมของความคิดต่างๆ  ท่านจะเห็นได้ว่าท่านสามารถพ้นออกมาจากสิ่งใด  ท่านเห็นถึงคุณประโยชน์ว่าท่านมีความสุขได้อย่างไร  จากจุดแรกสุดคือการสร้างพื้นที่ว่าง  ท่านจะคิดใหม่ว่า  “โอ้  หัวหน้า  ถ้าเขาทราบวิธีการนี้เขาจะดีขึ้นกว่านี้มาก  คนน่าสงสาร”

เมื่อใดก็ตามที่ท่านมีความกรุณาเช่นนี้จิตใจของท่านก็จะเบาและเป็นอิสระขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อใดก็ตามที่ท่านหันไปเพ่งพิจารณาถึงคนอื่นๆ แทนที่จะเป็นเรื่องของตัวเอง ท่านจะสามารถลดอัตตาหรืออีโก้ลง  ผลที่ได้ต่อจิตใจของท่านก็คือความผ่อนคลายที่เพิ่มมากขึ้น  รู้สึกเปิดกว้างขึ้น  และปัญญาเพิ่มพูนมากขึ้น  ท่านสามารถแลกเปลี่ยนกุญแจทั้งสามนี้กับคนอื่นๆ ต่อไปเพราะเป็นสิ่งที่มีแต่คุณประโยชน์ไม่เป็นพิษภัยต่อพวกเขา  และนี่คือกุญแจสามดอกไปสู่ความสุข

 

ด้วยความรักและปรารถนาดี

สรรวะมังคะลัม

พักชก รินโปเช (Phakchok Rinpoche)


Leave a Reply