Kyabgon Phakchok Rinpoche visit Jan 2011 Synopsis – สมเด็จพักชกริมโปเช บรรยายธรรม ม.ค. 2554 บทความย่อ
Synopsis of the lecture program
บทความย่อของธรรมบรรยาย
For full schedule please check
สำหรับกำหนดการและสถานที่กรุณาดูที่
https://www.mongkol.org/phakchok-rinpoche/kyabgon-phakchok-rinpoche-visit-jan-2011/
Details in English can be found below as well as at Little Bangkok Sangha www.littlebang.org
LOVING KINDNESS AND COMPASSION
Avalokiteshvara is the embodiment of compassion of all the Buddhas. In the Theravada tradition, Loving Kindness is translated as Metta and Compassion is Karuna. “Metta” is the wish for all sentient beings to be full of happiness and causes of happiness while “Karuna” is the wish for all sentient beings to be without suffering and without causes of suffering. These principles are very important in Buddhism as they are part of the 4 Immeasurables.
Avalokiteshvara is also known as Chenrezig in Tibetan or Kuan Yin in Chinese. It is spoken in the tantras and explained by Guru Rinpoche himself that just by calling his name and making a connection with him in any way, let alone by chanting the Avokiteshvara Mantra and doing the practice, all six classes of beings can be liberated from the six realms of samsara (hell, hungry ghost, animal, human, demi-god, and god realms), and all the sufferings contained therein, for example, birth, old age, sickness and death.
MEDICINE BUDDHA
The practice of Medicine Buddha, the Supreme Healer, is an extremely powerful method for healing physical illnesses, both for oneself and others, and also for overcoming the inner illnesses of attachment, hatred, and ignorance. Therefore, meditating on Medicine Buddha can help decrease physical and mental illness and suffering. The Medicine Buddha mantra is held to be extremely powerful for the healing of physical illnesses and purification of negative karma. It is said that just by hearing the mantra once, one will not be reborn in the three lower realms, so making a connection with Medicine Buddha, however small, has enormous benefits.
THE PATH TO A HAPPY MIND
The world is getting increasingly volatile with apparently more human suffering caused by increasing frequency of natural disasters or human acts of violence than other times in recent memory. The objective of this talk by Rinpoche is to teach us how as human beings, we can make ourselves and our world better through a better understanding of nature of things. Here Rinpoche will give advice from the Buddha’s teachings on how to tame our minds and negative emotions and implement the Buddha’s teachings so that we can live peacefully, happily, and harmoniously, regardless of what happens in the external world.
HOW TO DISPEL NEGATIVE EMOTIONS
There are five main classifications of negative emotions according to Buddhist teachings, anger, greed, ignorance, pride and jealousy. Rinpoche will teach us methods to recognize these emotions in ourselves and methods to dispel them. To recognize negative emotion is very important for all levels of practitioners. Reduction of negative emotions can often indicate the positive progress of the practice.
ESSENCE OF THE BODHISATTVA PATH
Before the Buddha achieved full enlightenment , he was a Bodhisattva. Bodhisattva practices are the perfection of the six paramitas, especially the paramita of wisdom, with the foundation being the Bodhicitta.
The Bodhisattva path includes the qualities to be able to actively benefit all sentient beings without any hesitation or fear. Rinpoche will explain the benefits of living the Bodhisattva path, and the essential characteristics of of a Bodhisattva.
BODHICITTA – THE PATH TO ENLIGHTENMENT
The five basic qualities of Bodhicitta are: Clarity, Calmness, Focus, Wisdom and Compassion. Bodhicitta is a perquisite to Enlightenment. Enlightenment will free us from the samara of birth, old age, sickness, death, and endless re-birth. Rinpoche will teach us what Bodhicitta is, and how to develop it gradually in our daily lives.
ENLIGHTENED BUDDHIST TEACHINGS OF THE GREAT INDIAN MASTERS
This is a collection of very previous texts from the Tengyur (the Collected Translated Treatises) composed by great, realized masters from India, such as Vimalamitra, Kamalashila, and Singhabhadra. The texts teach the view, meditation, conduct, and fruition clearly and precisely. These texts are adorned with many quotations from the Buddha’s sutras which Rinpoche will share with us. These teachings from the Great Indian Masters are very useful for the development of one’s meditation practices.
MIND TRAINING
Training and taming the mind is the essence of the Buddhadharma and is something that all Buddhist practitioners, regardless of what level they may be, should constantly practice. Important points include reasons why one should do mind training and how to go about performing it properly. This also refers to the quotes of the Buddha from the Dhammapada, where Buddha said very clearly, ‘To tame the mind, that is the Buddhadharma.’
ความเมตตาและความกรุณาในพระพุทธศาสนา
พระอวโลกิเตศวรเป็นองค์รวมแห่งความเมตตาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ความเมตตาคือความปรารถนาให้สรรพสัตว์มีความสุขและเข้าถึงเหตุแห่งสุข ความกรุณาคือความปรารถนาให้สรรพสัตว์ทั้งปวงพ้นจากทุกข์และเหตุแห่งความทุกข์ ความเมตตาและความกรุณาเป็นธรรมะหนึ่งในสี่ข้อของพรหมวิหารสี่อันได้แก่เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
ชาวทิเบตเรียกพระอวโลกิเตศวรว่า “เชนเรซี” ส่วนชาวจีนเรียกว่า “กวนอิม” พุทธศาสนาตันตระยานและองค์คุรุริมโปเชได้กล่าวไว้ว่า ขอเพียงแต่เอ่ยพระนามของพระอวโลกิเตศวรและระลึกถึงพระองค์ไม่ว่าจะโดยวิธีใด เพียงแต่ภาวนามนตราและปฏิบัติถึงพระองค์ เวไนยสัตว์ในหกภูมิอันได้แก่ นรกภูมิ เปรตภูมิ เดรัจฉานภูมิ มนุษยภูมิ อสุรภูมิ และเทวภูมิ ก็จะได้รับการช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ของสังสารวัฏแห่งการเกิดแก่เจ็บตาย
พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า
การปฏิบัติบูชาพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าแห่งการรักษา เป็นวิธีหนึ่งที่ทรงพลังมากในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งสำหรับตนและผู้อื่น ทั้งยังช่วยบำบัดไข้ใจต่างๆเช่น ความผูกพัน ความเกลียดและอวิชชาได้ด้วย การทำสมาธิภาวนาถึงพระองค์จะช่วยลดความทุกข์และความไม่สบายกายไม่สบายใจ มนต์ของพระองค์ก็มีอานุภาพมากสำหรับรักษาโรคภัยและชำระบาปกรรม เชื่อกันว่าแม้ฟังเสียงสวดมนต์เพียงครั้งเดียว ก็ทำให้เราไม่ไปเกิดในสามภพภูมิที่ต่ำกว่า ดังนั้น การได้ปฏิบัติบูชาถึงองค์พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าจึงให้อานิสงส์ใหญ่หลวง
หนทางแห่งความสุขใจ
โลกทุกวันนี้วุ่นวายมากขึ้นทุกทีด้วยความทุกข์ที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติหรือภัยคุกคามที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง การบรรยายครั้งนี้มุ่งสอนให้เราพัฒนาตนและทำให้โลกน่าอยู่ขึ้นด้วยการทำความเข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่งให้ดียิ่งขึ้น ท่านริมโปเชจะบรรยายถึงธรรมะที่เกี่ยวกับการฝึกจิตและควบคุมอารมณ์ที่ไม่ปรารถนา รวมทั้งวิธีการนำคำสอนของพระพุทธองค์มาปฏิบัติเพื่อให้เราใช้ชีวิตอย่างสุขสงบมากขึ้นไม่ว่าโลกจะวุ่นวายเพียงใดก็ตาม
วิธีขจัดอารมณ์ที่ไม่ปรารถนา
พระพุทธเจ้าได้จัดอารมณ์ที่ไม่ปรารถนาไว้ห้าประการคือ ความโลภ ความโกรธ อวิชชา ความหยิ่งยะโส และความอิจฉาริษยา ริมโปเชจะบรรยายถึงวิธีการเฝ้ามองอารมณ์เหล่านี้ที่เกิดขึ้นในใจเรา และวิธีกำจัด การเฝ้ามองอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาให้เป็น เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ปฏิบัติทุกระดับ เมื่อสามารถลดทอนอารมณ์เหล่านี้ลงได้ ก็แสดงว่าการปฏิบัติธรรมนั้นมีความก้าวหน้า
แก่นแท้แห่งวิถีพระโพธิสัตว์
ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ พระองค์เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน แนวการปฏิบัติแห่งพระโพธิสัตว์ก็คือจะต้องสะสมบารมีทั้งหกได้ครบสมบูรณ์ โดยเฉพาะปัญญาบารมี ซึ่งมีฐานจากโพธิจิต
วิถีแห่งพระโพธิสัตว์รวมถึงความสามารถในการแผ่อานิสงส์ช่วยเหลือสรรพสัตว์โดยไม่ลังเลหรือกลัวแม้แต่น้อย ในการบรรยายครั้งนี้ ท่านริมโปเชจะได้อธิบายถึงอานิสงส์ของการปฏิบัติในวิถีแห่งพระโพธิสัตว์ และคุณลักษณะที่สำคัญๆ ของพระโพธิสัตว์
โพธิจิต – หนทางสู่การตรัสรู้
คุณลักษณะพื้นฐานของโพธิจิตมีอยู่ห้าประการด้วยกันคือ ความกระจ่างใส ความสงบ ความแน่วแน่ ปัญญา และเมตตา โพธิจิตเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การตรัสรู้ ซึ่งจะช่วยให้สัตว์โลกพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ท่านริมโปเชจะบรรยายว่าโพธิจิตคืออะไร เราจะพัฒนาโพธิจิตในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไร
ธรรมะจากมหาคุรุแห่งอินเดีย
การบรรยายนี้จะกล่าวถึงข้อธรรมะที่รวบรวมไว้ในคัมภีร์ที่สูงค่ายิ่งจากเตงจูร์หรือพระวินัยที่แต่งขึ้นโดยมหาคุรุหลายท่านของอินเดีย เช่น วิมาลามิตรา กมลาศีล และสิงหภัทรา เนื้อหาในคัมภีร์จะกล่าวถึง ทัศนะ การภาวนา การปฏิบัติ และผล อย่างแม่นตรงและกระจ่าง รวมถึงพุทธวจนะจากพระสูตรซึ่งท่านริมโปเชจะยกมาบรรยาย ธรรมะจากมหาคุรุแห่งอินเดียนี้มีประโยชน์มากในการพัฒนาการปฏิบัติภาวนา
การฝึกจิต
การฝึกจิตเป็นแก่นแท้ของพุทธธรรมและเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติทุกระดับในศาสนาพุทธควรปฏิบัติอยู่เสมอ เนื้อหาหลักของการบรรยายนี้ก็ได้แก่ ความสำคัญของการฝึกจิต และวิธีที่ถูกต้องในการฝึกจิต รวมไปถึงพุทธวจนะจากธรรมบทซึ่งกล่าวไว้ว่าชัดเจนว่า “การฝึกจิตนั่นแหละ คือพุทธธรรม”